• Slide2017 11 1

    Slide2017 11 1

  • Certificate

    Certificate

  • ระบบวางท่อกำจัดปลวกตามเเนวคาน

    ระบบวางท่อกำจัดปลวกตามเเนวคาน

  • สเปรย์ยากำจัดปลวก

    สเปรย์ยากำจัดปลวก

  • อัดน้ำยาเข้าท่อ

    อัดน้ำยาเข้าท่อ

ความรู้เกี่ยวกับปลวก

ปลวก คืออะไร

ปลวกเป็นแมลงที่มีชีวิตความเป็นอยู่แบบสังคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ภายในรัง ปลวกมีนิสัยชอบที่มืดและอับชื้น ภายใน 1 รัง ปลวกจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ในการทำงานกันอย่างชัดเจน จึงแบ่งปลวกออกได้เป็น 3 ประเภท (วรรณะ) โดยปลวกทุกวรรณะไม่ได้มีความสามารถในการกัดกินเนื้อไม้ จะมีเพียงวรรณะกรรมกรหรือปลวกงานที่ทำหน้าที่หาอาหารเพียงวรรณะเดียวเท่านั้นที่สามารถกัดกินเนื้อไม้และก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ไม้ได้

ประเภทของปลวก

1. วรรณะกรรมกร (Worker)

เป็นปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มีจำนวนมาก เป็นปลวกที่มีขนาดตัวเล็ก สีขาวนวล ไม่มีปีก เป็นหมัน มีผนัง ลำตัวบางสีอ่อน ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก พบจำนวนมากที่สุดภายในรัง และเป็นวรรณะเดียวที่กัดกินเนื้อไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ มีหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่หาอาหาร เก็บสะสม ป้อนอาหารให้ปลวกราชินี ปลวกราชา ปลวกทหาร และตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ที่ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ นอกจากนี้ปลวกงานยังสร้างและซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และดูแลไข่

2. วรรณะทหาร (Soldier)

เป็นปลวกที่มีหัวขนาดใหญ่ สีเข้ม มีโครงสร้างผนังลำตัวที่แข็งแรงกว่าในวรรณะอื่น มีกรามขนาด ใหญ่ซึ่งดัดแปลงไปเป็นอวัยวะคล้ายคีมที่มีปลายแหลมคมสำหรับใช้ในการต่อสู้กับศัตรูที่มารบกวนสมาชิก ภายในรัง ไม่มีปีก ไม่มีตา ไม่มีเพศ

3. วรรณะสืบพันธุ์ (Reproductive)

 เป็นวรรณะที่ปลวกมีรูปร่างต่างกันไป ตามช่วงเวลาในการดำเนินชีวิต ได้แก่

  • แมลงเม่า (Alate or winged reproductive male or female) เป็นวรรณะสืบพันธุ์ที่มีปีก ซึ่งมีปีก 2 คู่ ปีกมีขนาดยาวเป็น 2 เท่าของลำตัว สีของลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองไปจนถึงสีดำ เมื่อมีสภาพอากาศที่เหมาะสมโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนแมลงเม่าจะบินออกจากรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จแมลงเม่าจะสลัดปีกทิ้งและเดินตามกันเพื่อหาช่องว่างหรือรอยแตกภายในดินเพื่อวางไข่และสร้างรังใหม่ต่อไป
  • ปลวกราชินี (Queen) และปลวกราชา (King) เป็นแมลงเม่าที่ผสมพันธุ์กันแล้วสลัดปีก และสร้างรังอยู่ในดิน หรือในไม้ เมื่อผสมพันธุ์ครั้งแรกแล้ว ส่วนท้องของปลวกราชินีจะขยายใหญ่ เพื่อให้รังไข่สามารถผลิตไข่ได้มากขึ้น จึงทำให้ปลวกราชินีมีขนาดใหญ่มากที่สุดในรังและมีอายุยืนยาว 25 – 50 ปี และทำให้ปลวกราชินีเคลื่อนไหวได้ลดลง จึงต้องมีปลวกงานคอยดูแล ส่วนใหญ่ใน 1 รัง จะมีปลวกราชินี 1 ตัวหรือมีปลวกราชินีได้มากกว่า 1 ตัว แล้วแต่ชนิดของปลวก แต่มีปลวกราชาตัวเดียว ในขณะที่ปลวกราชาหลังจากผสมพันธุ์แล้วมีขนาดลำตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้ปลวกราชา 1 ตัวสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง      
  • วรรณะสืบพันธุ์รอง (Supplementary Queen and King) เป็นปลวกที่ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และออกไข่ เพิ่มจำนวน ประชากร ในกรณีที่ปลวกราชาหรือปลวกราชินีของรังถูกทำลายไป แต่มีประสิทธิภาพในการผลิตไข่ต่ำและมีอายุขัยสั้นกว่าเมื่อเทียบกับปลวกราชินีหรือปลวกราชา                                                                                             

 

 

เป็นปลวกตัวอ่อนและตัวเต็มวัยที่เป็นหมัน มีจำนวนมาก เป็นปลวกที่มีขนาดตัวเล็ก สีขาวนวล ไม่มีปีก เป็นหมัน มีผนัง ลำตัวบางสีอ่อน ไม่มีตา ใช้หนวดเป็นอวัยวะรับความรู้สึก พบจำนวนมากที่สุดภายในรัง และเป็นวรรณะเดียวที่กัดกินเนื้อไม้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ มีหน้าที่เกือบทุกอย่างภายในรัง ตั้งแต่หาอาหาร เก็บสะสม ป้อนอาหารให้ปลวกราชินี ปลวกราชา ปลวกทหาร และตัวอ่อนที่เกิดใหม่ ที่ไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ นอกจากนี้ปลวกงานยังสร้างและซ่อมแซมรัง ทำความสะอาดรัง และดูแลไข่

วงจรชีวิตของปลวก

ปลวกมีการเจริญเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบไม่สมบูรณ์ หรือ incomplete metamorphosis คือ ประกอบด้วยระยะไข่ (egg) ระยะตัวอ่อน (larva) และระยะตัวเต็มวัย (adult) โดยเริ่มจากช่วงหลังฝนตก แมลงเม่าเพศผู้และเพศเมียจำนวนมากบินออกจากรังในช่วงเวลาพลบค่ำ เพื่อมาเล่นไฟ จับคู่ผสมพันธุ์กัน จากนั้นจึงสลัดปีกทิ้ง แล้วเจาะลงไปสร้างรังในดิน ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและความชื้น หลังจากปรับสภาพดินเป็นที่อยู่แล้วประมาณ 2 – 3 วัน ปลวกราชินีจึงเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ และจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงวันละหลายพันฟอง สำหรับปลวกราชินีเมื่อวางไข่ครั้งแรกแล้วส่วนท้องจะขยายใหญ่ขึ้น เพื่อผลิตไข่ให้ได้มากขึ้นและใช้เป็นอวัยวะเก็บไข่ ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบจนเป็นตัวเต็มวัย ไข่รุ่นแรกจะฟักออกมาเป็นปลวกไม่มีปีก และเป็นหมัน ปลวกราชินีจะผลิตฟีโรโมน ออกมาจากทวารหนักของปลวกราชินี เพื่อควบคุมให้ปลวกเพศเมียเป็นหมัน และกระตุ้นให้ตัวอ่อนของปลวกพัฒนาไปเป็นวรรณะต่างๆ โดยฟีโรโมนดังกล่าวที่ปลวกราชินีปล่อยออกมา ยังมีหน้าที่ควบคุมการสร้าง juvenile hormone ในตัวอ่อน โดยในระยะ 3 – 4 ปีแรกของการสร้างรัง จำนวนปลวกงานและปลวกทหารจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ระยะเวลาการเจริญจากไข่ถึงปลวกทหารปลวกงาน ใช้เวลา 4 – 6 เดือน โดยจะมีบางส่วนเท่านั้นที่เจริญไปเป็นปลวกวรรณะสืบพันธุ์รอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะเจริญไปเป็นแมลงเม่า ซึ่งมีปีกยาวสมบูรณ์เต็มที่บินออกไปผสมพันธุ์ต่อไป ระยะเวลาการเจริญของวรรณะสืบพันธุ์จากไข่ถึงตัวเต็มวัยใช้เวลา 9 – 10 เดือน

ที่มา : Chow-Yang Lee(2014)

อะไรคืออาหารของปลวก?

อาหารของปลวกคือเซลลูโลส (cellulose) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อไม้ ปลวกส่วนใหญ่ทำความเสียหายแก่ไม้หรือโครงสร้างไม้ภายในอาคารบ้านเรือน รวมถึงเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบหลักในการดำรงชีวิต ได้แก่ ไม้แปรรูป วงกบประตู วงกบหน้าต่าง ขอบบัวของพื้นอาคาร ฝ้าเพดาน พื้นไม้ปาร์เก้ วอลเปเปอร์ พลาสติก วัสดุที่ทำจากกระดาษและใยผ้าต่างๆ ผลของการทำลายและกัดกินของปลวกจะสูญเสียโครงสร้างอันสวยงามของไม้ พื้น พรม รูปภาพ หนังสือ เสื้อผ้า เครื่องเรือน และกระดาษที่มีค่า

ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเข้าทำลายปลวก

ปลวกเป็นแมลงศัตรูทำลายไม้ที่สำคัญและสร้างความเสียหายมากที่สุด ก่อให้เกิดความเสียหายจากการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ทำจากไม้ ไม้ใช้ประโยชน์ที่อยู่กลางแจ้ง ไม้ใช้ประโยชน์ที่เป็นโครงสร้างภายในอาคารบ้านเรือน วัสดุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำมาจากไม้ กล้าไม้และไม้ยืนต้น นอกจากนั้นยังทำลายผลิตภัณฑ์ที่มีเซลลูโลสเป็นส่วนประกอบอีกด้วย โดยทั่วโลกมีปลวกแพร่กระจายอยู่ประมาณ 2,500 ชนิด

ในประเทศไทย พบปลวกประมาณ 200 ชนิด ปลวกชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ มี 9 สกุล 10 ชนิด และจากการสำรวจชนิดปลวกที่เข้าทำลายบ้านเรือนในประเทศไทย พบว่าปลวกที่เข้าทำลายบ้านเรือนมากที่สุด และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุด คือ ปลวกชนิด Coptotermes gestroi (Wasmann) พบในเขตเมือง 90% ของพื้นที่สำรวจ และพบในพื้นที่ชนบท 22% ของพื้นที่สำรวจ รองลงมา คือ ปลวกชนิด Microcerotermes crassus Synder พบเข้าทำลายบ้านเรือนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทเท่านั้น ซึ่งพบ 42% ของพื้นที่ชนบทที่สำรวจ

จะรู้ได้อย่างไรว่าปลวกขึ้นบ้านแล้ว?

ปลวกจะไม่ขึ้นมาเดินบนพื้นผิวอาคารเพื่อหาอาหาร ส่วนใหญ่คุณจะพบตัวปลวกก็ต่อเมื่อมันได้เข้ามาแล้ว อย่างไรก็ตามคุณสามารถดูได้จากพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจจะมีปลวก

  • พบทางเดินปลวกจากพื้นดินเข้าสู่ตัวบ้าน หรือขี้ดินเป็นทางบนพื้นกำแพง
  • พบปีกแมลงเม่าที่สลัดออกอยู่ใกล้ประตูและกรอบหน้าต่าง
  • สีที่ทาบนผิวไม้โปร่งร่อน เมื่อเคาะมีเสียงกลวง
  • มีเสียงการเคลื่อนไหวอย่างวุ่นวายเมื่อเคาะบนพื้นผิวไม้

ปลวกทำลายไม้ที่มีความสำคัญบางชนิด

1. ปลวกไม้แห้ง

ชนิดที่สำคัญ คือ Cryptotermes thailandis ส่วนใหญ่พบเข้าทำความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่ที่เป็นเกาะ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย

ที่มา: Lee and Neoh (2014)

2. ปลวกใต้ดิน

ชนิดที่สำคัญ คือ Coptotermes gestroi จัดเป็นปลวกชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในประเทศ ร้อยละ 90 ของอาคารที่ถูกทำลาย เกิดจากการเข้าทำลายของปลวกชนิดนี้ และเกือบร้อยละ 100 พบเข้าทำความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตเมือง

3.ปลวกสร้างรังขนาดเล็ก

ชนิดที่สำคัญ คือ Microcerotermes crassus โดยทั่วไปพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ ภายนอกอาคารหรือในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขตชนบท โดยเฉพาะตามทุ่งนา แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีการขยายพื้นที่โครงการบ้านจัดสรรออกไปตามเขตชานเมืองที่เคยเป็นทุ่งนามาก่อน จึงพัฒนาตัวเองกลายเป็นศัตรูทำลายไม้ที่สำคัญของอาคารที่อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะในระยะหลังจากปลูกสร้าง 1-2 ปี จากนั้น จึงจะพบปลวก Coptotermes gestroi เข้าทำลายตามมา

ที่มา: จารุณี และคณะ (2548)

4.ปลวกสร้างรังขนาดกลางถึงขนาดใหญ่

ชนิดที่สำคัญ คือ Globitermes sulphureus, Macrotermes gilvus และ Odontotermes longignathus มักพบเข้าทำความเสียหายต่อไม้ใช้ประโยชน์ภายนอก และไม้ในอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในเขต ชนบท

ที่มา: จารุณี และ ขวัญชัย (2551); ชัยวัฒน์ (ม.ป.ป.); Lee and Neoh (2014)

ปลวกเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนได้อย่างไร

ปลวกโดยส่วนมากจะมีช่องทางการเข้าทำลายอาคารบ้านเรือนอยู่หลายช่องทาง เช่น ตามรอยแตกร้าวของพื้นคอนกรีต หรือรอยต่อระหว่างพื้นคอนกรีตและผนังอาคาร บริเวณรากฐาน เช่น เสา คาน ผนัง วงกบประตู หน้าต่าง บริเวณขอบบัวของพื้นอาคาร และพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพาะตามมุมห้องต่าง ๆ บริเวณพื้นใต้บันได ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายของเป็นเวลานานๆ ตามแนวคานในฝ้าเพดาน หรือตามท่อระบายน้ำ และตามปล่องท่อสายไฟ

เอกสารอ้างอิง

  •  กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2555. นานาสาระเกี่ยวกับปลวกและวิธีการป้องกันกำจัดปลวก. อาหารและยา 19 (1): 11–15.
  • จารุณี วงศ์ข้าหลวง, ยุพาพร สรนุวัตร, ขวัญชัย เจริญกรุง และ ศจิษฐ์ ชุติภาปกรณ์. 2548. ความหลากหลายของปลวกในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
  • จารุณี วงศ์ข้าหลวง และ ขวัญชัย เจริญกรุง. 2551. ปลวก การป้องกันและกำจัด. สำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
  • ธีระ วีณิน. 2549. การรักษาคุณภาพไม้. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ปทุมธานี.

มด

มด

มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (subarctic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย


มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท้จริงชั้นสูงที่รังมีประชากรเป็นจำนวนมาก มีการสร้างรังอย่างประณีต และสมาชิกภายในรังมีการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ทั้งรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่ โดยมีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างสมาชิกภายในรัง มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษ โดยในแง่ที่เป็นโทษนั้น มดเป็นแมลงศัตรูทำลายพืชผลทางการเกษตรในแปลงปลูกและในโรงเก็บ ทำความเสียหายทางด้านปศุสัตว์โดยเข้ากัดกินตัวอ่อน ส่วนในบ้านเรือนของคนนั้น มดจะเข้ามาก่อความรำคาญและทำความเสียหาย โดยเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยของคน นอกจากนั้น มดยังสามารถทำอันตรายกับคนโดยตรง โดยมดบางชนิดสามารถกัด หรือต่อยด้วยเหล็กใน หรือ ทั้งกัดและต่อยทำให้เกิดความเจ็บปวด เกิดอาการแพ้ หรือเกิดเป็นแผลติดเชื้อซ้ำบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อยนั้น จากสาเหตุดังกล่าวมดบางชนิดจึงจัดเป็นทั้งแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพและทางเกษตรกรรม

ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของมด

มีมดมากมายหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในแง่ที่เป็นโทษ มดจะเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากทุกปีในการป้องกันกำจัด นอกจากนั้น ยังทำอันตรายกับมนุษย์ได้โดยตรงโดยการกัด หรือต่อย พร้อมทั้งปล่อยสารพิษลงไปในรอยแผลที่กัดหรือต่อยนั้น ทำให้รู้สึกเจ็บปวด มดเกือบทุกชนิดใช้ปากกัด แต่บางชนิดก็ต่อยด้วยเหล็กในที่อยู่ปลายท้อง และมีบางชนิดที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ทั้งกัดและต่อยทำให้บริเวณนั้นมีอาการคัน ปวดบวม หรือปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคน อายุ และตำแหน่งของร่างกายที่ถูกกัดต่อย ตัวอย่างเช่น มดคันไฟ (Solenopsis spp.) ที่เริ่มทำอันตรายเหยื่อด้วยการกัด และพบว่าการกัดจะกระตุ้นให้เหล็กในเริ่มทำงานและต่อยศัตรูพร้อมกับปล่อยสารพิษจากเหล็กในใส่เหยื่อหลังจากการกัดนั้น มดสามารถต่อยด้วยเหล็กในอันเดิมได้หลายครั้ง ซึ่งจะต่างจากผึ้งที่ต่อยได้เพียงครั้งเดียวและจะทิ้งเหล็กในไว้ในบริเวณที่ถูกต่อย จากการศึกษาสารพิษของมดคันไฟพบว่า ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ สารอัลคาลอยด์ และสารโปรตีนชนิดต่าง ๆ โดยสารพิษจะผลิตออกมาจากต่อมที่อยู่ภายในท้องซึ่งเชื่อมต่อกับเหล็กในที่เราเห็นยื่นจากปลายท้องของมด สารอัลคาลอยด์จะเป็นพิษกับเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นเกิดการตาย จากนั้นจะมีเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบเซลล์ที่ตายตามกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บริเวณที่ถูกต่อยเกิดเป็นตุ่มหนอง และถ้าตุ่มหนองนั้นแตกออกและไม่มีการรักษาความสะอาดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำจากแบคทีเรีย (secondary infection) ทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้ สำหรับสารโปรตีนนั้นอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ทั้งแบบไม่รุนแรงจนถึงแบบรุนแรงที่มีอาการช็อค (anaphylactic shock) โดยเฉพาะในรายที่แพ้มาก ๆ นอกจากนั้น มดยังสามารถเป็นตัวพาเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเชื้อโรคจะติดมาตามร่างกายของมด ซึ่งเมื่อมดพวกนี้เข้ามาในบ้านและขึ้นมากินอาหารของคน เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร (mechanical transmission) ได้

วงจรชีวิตของมด

มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

ชนิดมดที่สำคัญ

 มีมดอยู่หลายชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์และพบได้เสมอบริเวณบ้านเรือน ตัวอย่างเช่น

 

1. มดคันไฟ (Solenopsis geminata)

ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน มีความยาว 7-8 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุย ดินทราย โดยรังหนึ่ง ๆ มีรูทางเข้า-ออกเล็ก ๆ บนพื้นดินได้หลายรู กินแมลงและซากสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร รวมทั้งเศษอาหารที่คนทิ้งไว้ ความสำคัญทางการแพทย์ ทำอันตรายกับคนได้ทั้งการกัดและการใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อย จะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกว่า มดคันไฟ หลังจากถูกต่อยบริเวณแผลจะมีอาการบวมแดงขยาย กว้างขึ้นและจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวก และจะมีอาการคันมาก เมื่อเกา ผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น

ที่มา :http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=76052       

 2. มดในกลุ่มของมดละเอียด Monomorium spp. ประกอบด้วย

2.1 มดละเอียด Monomorium indicum

ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส มีความยาว 2.5–3.5 มิลลิเมตร
ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ในดิน พบตามบ้านที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวาน เมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว มักเห็นเดินบนกำแพง หรือฝาห้องมากกว่าบนพื้น
ความสำคัญทางการแพทย์
เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย    

2.2 มดละเอียด Monomorium pharaonis

ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หรือสีแดงสว่างใส มีขนปกคลุมทั่วร่างกาย มีความยาว 1.5–2 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา เป็นมดที่ทำรังหลักหรือรังใหญ่ (mother colony) อยู่ภายนอก บ้าน แต่มดงานจะเข้ามาหาอาหารภายในบ้านเรือน รังจะมีขนาดต่าง ๆ กัน ตั้งแต่รังขนาดเล็กจนถึงรังขนาดใหญ่ที่มีประชากรเป็นหมื่นเป็นแสนตัว และพบว่ามดชนิดนี้สามารถสร้างรังย่อย (daughter colony) แตกออกมาจากรังหลัก กระจายอยู่ในบ้านหรือตามที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ของคน เช่น อพาร์ตเมนต์ โรงงาน โรงพยาบาล เป็นต้น รังย่อยเหล่านี้จะซ่อนอยู่ตามรอยแตกของผนัง ช่องว่างตามกำแพง กล่องสวิตช์ไฟ นอกจากนี้ ภายในรังเดียวกันสามารถมีมดราชินีได้มากกว่า 1 ตัว มดละเอียดเป็นมดที่ผสมพันธุ์ภายในรัง และผสมพันธุ์ได้ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Pharaoh_ant ทั้งปี หลังผสมพันธุ์แล้วราชินีตัวใหม่จะออกจากรังเดิมเพื่อไปสร้างรังใหม่ มดละเอียดชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิด โดยกินได้ทั้งน้ำตาลและโปรตีนพวกเนื้อสัตว์ เศษซากแมลงที่ตายแล้ว เลือด น้ำเหลือง และสารคัดหลั่งอื่น ๆ จากร่างกายของคน เป็นมดที่จัดได้ว่าทำการควบคุมได้ยาก เนื่องจากเป็นมดที่มีขนาดเล็กหลบซ่อนตัวได้ง่าย หากินไกลออกไปจากรัง มีทั้งรังหลักและรังย่อยซึ่งยากต่อการค้นหา และพบว่าการใช้สารเคมีในการฉีดพ่นที่รังใดรังหนึ่งและทำให้ประชากรแตกกระจายบางครั้งจะทำให้มดชนิดนี้ยิ่งแตกออกเป็นรังย่อย ๆ หรือที่เรียกว่า budding ซึ่งทำให้การควบคุมทำได้ยากยิ่งขึ้น

ความสำคัญทางการแพทย์ มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัว โดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย ปัญหาทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมดชนิดนี้เข้ามาสร้างรังย่อยอยู่ในโรงพยาบาล และมดงานออกหาอาหารภายในโรงพยาบาลซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลได้

 

2.3 มดละเอียด Monomorium destructer

ลักษณะสำคัญ  สีเหลืองจนถึงน้ำตาลอ่อน หนวดมี 12 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายใหญ่ ท้องสีเข้มกว่าลำตัว ก้าน pedicel มี 2 ปุ่ม ขนาดไม่เท่ากัน มีความยาว 1.8-3.5 มิลลิเมตร

ความสำคัญทางการแพทย์
คล้ายคลึงกับมดละเอียด Monomorium pharaonis

3. มดละเอียดหรือมดเหม็น (Tapinoma melanocephalum)

ลักษณะสำคัญ หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน

ลักษณะทางชีววิทยา  ทำรังบนดินร่วนบริเวณโคนต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ โดยชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชื้นสูง

ความสำคัญทางการแพทย์
เมื่อเข้ามาหาอาหารในบ้านเรือนจะขับมูลทำให้เกิดการปนเปื้อน ในอาหารและมีกลิ่นเหม็น ทำอันตรายคนโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย

4. มดดำ (Paratrechina longicornis)

ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้อง ลักษณะยาวเห็นได้ชัด อกแต่ละปล้องมีเส้นแบ่งชัดเจน ขายาวมาก pedicel มี 1 ปุ่ม รูปไข่นูนเล็กน้อย ท้องรูปไข่ มีความยาว 2.3–3 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกบ้าน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้น จึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ได้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่น ๆ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำรังตามรอยแตกของต้นไม้ หรือในดินใต้วัสดุต่าง ๆ ชอบกินน้ำหวาน บางครั้งอาจพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคนแม้ถูก

ความสำคัญทางการแพทย์
เป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าทำให้เกิดอันตราย     

5. มดง่าม (Pheidologeton diversus)

ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่ หนวดมี 11 ปล้อง อกปล้องแรกและปล้องที่ 2 นูนเห็นได้ชัด ในขณะที่อกปล้องที่ 3 เว้าลงและมีหนามแหลมเห็นได้ชัด pedicle มี 2 ปุ่ม ส่วนท้องกว้างรูปไข่ มีความยาว 4.5–13 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ในดินร่วน มองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็ก ๆ และมีดินร่วนกองอยู่รอบ ๆ ของขอบรูเข้า-ออก ชอบทำรังในที่ร่มชื้น กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร

ความสำคัญทางการแพทย์
ทำอันตรายต่อคนโดยการกัด โดยอาการจะคล้ายคลึงกับอาการของคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก

6. มดแดง (Oecophylla smaragdina)

ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิม หัวและส่วนอกมีขนสั้น ๆ สีขาว อกยาว โดยอกปล้องแรกโค้ง อกปล้องที่ 2 คอดคล้ายอาน และ  อกปล้องที่ 3 กลม ขาเรียวยาว ท้องสั้น มีความยาว 7–11 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ชมพู่ โดยใช้ใบไม้เหล่านี้ประกอบเป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกบกัน เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการกัดและฉีดสารพิษออกมาทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง

ความสำคัญทางการแพทย์
เมื่อถูกรบกวนจะทำอันตรายคนโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ต่อมาจะเกิดอาการบวมคัน                                                                           

7. มดตะนอย (Tetraponera rufonigra)

ลักษณะสำคัญ มีสีดำปนน้ำตาลเหลือง มีขนกระจายบาง ๆ ไม่เป็นระเบียบ หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวโดยปล้องแรกกว้าง ปล้องที่ 2 เล็กแบนรูปไข่ อกปล้องที่ 3 รูปไข่นูน ท้องรูปไข่ เล็กปลายแหลมโค้ง มีเหล็กในที่ปลาย มีความยาว 10.5–13 มิลลิเมตร

ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ที่ตายแล้ว เช่น ต้นก้ามปู ทำให้ต้นไม้เป็นโพรงอยู่ภายใน หากินบนต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียง เป็นมดที่กินเนื้อเป็นอาหาร

ความสำคัญทางการแพทย์
จะต่อยโดยใช้เหล็กใน ผู้ถูกต่อยจะปวดคล้ายถูกผึ้งต่อย เหล็กในจะทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาการบวม ต่อมาจะคันมาก

เอกสารอ้างอิง

  • อุรุญากร จันทร์แสง ,ชิตาภา เกตวัลห์ และ เดชา วิวัฒน์วิทยา. 2556. มด,น. 38–59. ใน สุรเชษฐ จามรมาน และ วรรณพร ศรีสุคนธรัตน์, บรรณาธิการ หรือ ผู้รวบรวม. คู่มือผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.

:: BAYER PROTECTION PROGRAM

:: BAYER PROTECTION PROGRAM

:: Termatrac T3i

:: Chemical

กิจกรรม&การฝึกอบรม

 กิจกรรม และการฝึกอบรม ของบริษัท ดิจิตอล เพสท์ คอนโทรล (ประเทศไทย) จำกัด

read more

MAP

ติดต่อเรา

ดิจิตอล เพสท์ คอนโทรล
47/210 ซอยนิมิตใหม่ 3/1 ถนนนิมิตใหม่ แขวง/เขตมีนบุรี กทม. 10510.

หมายเลขติดต่อ

081-311-2796 , 02-914-6945-6 , 081-923-7175
Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Line ID: digital_pest
Facebook: Digital Pest Control (Thailand) Co.,ltd.

Demo