มด
มด
มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปตั้งแต่เขตร้อน (tropics) จนถึงบริเวณใกล้เขตขั้วโลก (subarctic) สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ดีทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปในพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่อยู่อาศัย
|
ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณสุขของมด
มีมดมากมายหลายชนิดที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในแง่ที่เป็นโทษ มดจะเข้ามามีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัย ทำให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมากทุกปีในการป้องกันกำจัด นอกจากนั้น ยังทำอันตรายกับมนุษย์ได้โดยตรงโดยการกัด หรือต่อย พร้อมทั้งปล่อยสารพิษลงไปในรอยแผลที่กัดหรือต่อยนั้น ทำให้รู้สึกเจ็บปวด มดเกือบทุกชนิดใช้ปากกัด แต่บางชนิดก็ต่อยด้วยเหล็กในที่อยู่ปลายท้อง และมีบางชนิดที่ทำอันตรายมนุษย์ได้ทั้งกัดและต่อยทำให้บริเวณนั้นมีอาการคัน ปวดบวม หรือปวดแสบปวดร้อน ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาการแพ้ของแต่ละคน อายุ และตำแหน่งของร่างกายที่ถูกกัดต่อย ตัวอย่างเช่น มดคันไฟ (Solenopsis spp.) ที่เริ่มทำอันตรายเหยื่อด้วยการกัด และพบว่าการกัดจะกระตุ้นให้เหล็กในเริ่มทำงานและต่อยศัตรูพร้อมกับปล่อยสารพิษจากเหล็กในใส่เหยื่อหลังจากการกัดนั้น มดสามารถต่อยด้วยเหล็กในอันเดิมได้หลายครั้ง ซึ่งจะต่างจากผึ้งที่ต่อยได้เพียงครั้งเดียวและจะทิ้งเหล็กในไว้ในบริเวณที่ถูกต่อย จากการศึกษาสารพิษของมดคันไฟพบว่า ประกอบด้วยสารสำคัญหลัก 2 ชนิด คือ สารอัลคาลอยด์ และสารโปรตีนชนิดต่าง ๆ โดยสารพิษจะผลิตออกมาจากต่อมที่อยู่ภายในท้องซึ่งเชื่อมต่อกับเหล็กในที่เราเห็นยื่นจากปลายท้องของมด สารอัลคาลอยด์จะเป็นพิษกับเซลล์ ทำให้เซลล์นั้นเกิดการตาย จากนั้นจะมีเม็ดเลือดขาวมาล้อมรอบเซลล์ที่ตายตามกลไกภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้บริเวณที่ถูกต่อยเกิดเป็นตุ่มหนอง และถ้าตุ่มหนองนั้นแตกออกและไม่มีการรักษาความสะอาดอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำจากแบคทีเรีย (secondary infection) ทำให้เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังได้ สำหรับสารโปรตีนนั้นอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ทั้งแบบไม่รุนแรงจนถึงแบบรุนแรงที่มีอาการช็อค (anaphylactic shock) โดยเฉพาะในรายที่แพ้มาก ๆ นอกจากนั้น มดยังสามารถเป็นตัวพาเชื้อโรคต่าง ๆ โดยเชื้อโรคจะติดมาตามร่างกายของมด ซึ่งเมื่อมดพวกนี้เข้ามาในบ้านและขึ้นมากินอาหารของคน เชื้อโรคเหล่านี้ก็จะปนเปื้อนอยู่ในอาหาร (mechanical transmission) ได้ |
วงจรชีวิตของมด
มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย |
ชนิดมดที่สำคัญ
มีมดอยู่หลายชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์และพบได้เสมอบริเวณบ้านเรือน ตัวอย่างเช่น
1. มดคันไฟ (Solenopsis geminata)
ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน มีความยาว 7-8 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุย ดินทราย โดยรังหนึ่ง ๆ มีรูทางเข้า-ออกเล็ก ๆ บนพื้นดินได้หลายรู กินแมลงและซากสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหาร รวมทั้งเศษอาหารที่คนทิ้งไว้ ความสำคัญทางการแพทย์ ทำอันตรายกับคนได้ทั้งการกัดและการใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อย จะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกว่า มดคันไฟ หลังจากถูกต่อยบริเวณแผลจะมีอาการบวมแดงขยาย กว้างขึ้นและจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวก และจะมีอาการคันมาก เมื่อเกา ผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น ที่มา :http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=76052 |
2. มดในกลุ่มของมดละเอียด Monomorium spp. ประกอบด้วย
2.1 มดละเอียด Monomorium indicum ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส มีความยาว 2.5–3.5 มิลลิเมตร |
2.2 มดละเอียด Monomorium pharaonis ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อน หรือสีแดงสว่างใส มีขนปกคลุมทั่วร่างกาย มีความยาว 1.5–2 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา เป็นมดที่ทำรังหลักหรือรังใหญ่ (mother colony) อยู่ภายนอก บ้าน แต่มดงานจะเข้ามาหาอาหารภายในบ้านเรือน รังจะมีขนาดต่าง ๆ กัน ตั้งแต่รังขนาดเล็กจนถึงรังขนาดใหญ่ที่มีประชากรเป็นหมื่นเป็นแสนตัว และพบว่ามดชนิดนี้สามารถสร้างรังย่อย (daughter colony) แตกออกมาจากรังหลัก กระจายอยู่ในบ้านหรือตามที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ของคน เช่น อพาร์ตเมนต์ โรงงาน โรงพยาบาล เป็นต้น รังย่อยเหล่านี้จะซ่อนอยู่ตามรอยแตกของผนัง ช่องว่างตามกำแพง กล่องสวิตช์ไฟ นอกจากนี้ ภายในรังเดียวกันสามารถมีมดราชินีได้มากกว่า 1 ตัว มดละเอียดเป็นมดที่ผสมพันธุ์ภายในรัง และผสมพันธุ์ได้ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Pharaoh_ant ทั้งปี หลังผสมพันธุ์แล้วราชินีตัวใหม่จะออกจากรังเดิมเพื่อไปสร้างรังใหม่ มดละเอียดชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิด โดยกินได้ทั้งน้ำตาลและโปรตีนพวกเนื้อสัตว์ เศษซากแมลงที่ตายแล้ว เลือด น้ำเหลือง และสารคัดหลั่งอื่น ๆ จากร่างกายของคน เป็นมดที่จัดได้ว่าทำการควบคุมได้ยาก เนื่องจากเป็นมดที่มีขนาดเล็กหลบซ่อนตัวได้ง่าย หากินไกลออกไปจากรัง มีทั้งรังหลักและรังย่อยซึ่งยากต่อการค้นหา และพบว่าการใช้สารเคมีในการฉีดพ่นที่รังใดรังหนึ่งและทำให้ประชากรแตกกระจายบางครั้งจะทำให้มดชนิดนี้ยิ่งแตกออกเป็นรังย่อย ๆ หรือที่เรียกว่า budding ซึ่งทำให้การควบคุมทำได้ยากยิ่งขึ้น ความสำคัญทางการแพทย์ มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัว โดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย ปัญหาทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเมื่อมดชนิดนี้เข้ามาสร้างรังย่อยอยู่ในโรงพยาบาล และมดงานออกหาอาหารภายในโรงพยาบาลซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลได้
|
2.3 มดละเอียด Monomorium destructer ลักษณะสำคัญ สีเหลืองจนถึงน้ำตาลอ่อน หนวดมี 12 ปล้อง 3 ปล้องสุดท้ายใหญ่ ท้องสีเข้มกว่าลำตัว ก้าน pedicel มี 2 ปุ่ม ขนาดไม่เท่ากัน มีความยาว 1.8-3.5 มิลลิเมตร ความสำคัญทางการแพทย์ |
3. มดละเอียดหรือมดเหม็น (Tapinoma melanocephalum)
ลักษณะสำคัญ หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนดินร่วนบริเวณโคนต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ โดยชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชื้นสูง ความสำคัญทางการแพทย์ |
4. มดดำ (Paratrechina longicornis)
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้อง ลักษณะยาวเห็นได้ชัด อกแต่ละปล้องมีเส้นแบ่งชัดเจน ขายาวมาก pedicel มี 1 ปุ่ม รูปไข่นูนเล็กน้อย ท้องรูปไข่ มีความยาว 2.3–3 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกบ้าน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้น จึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ได้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่น ๆ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำรังตามรอยแตกของต้นไม้ หรือในดินใต้วัสดุต่าง ๆ ชอบกินน้ำหวาน บางครั้งอาจพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคนแม้ถูก ความสำคัญทางการแพทย์ |
5. มดง่าม (Pheidologeton diversus)
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้ม กรามใหญ่ หนวดมี 11 ปล้อง อกปล้องแรกและปล้องที่ 2 นูนเห็นได้ชัด ในขณะที่อกปล้องที่ 3 เว้าลงและมีหนามแหลมเห็นได้ชัด pedicle มี 2 ปุ่ม ส่วนท้องกว้างรูปไข่ มีความยาว 4.5–13 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังอยู่ในดินร่วน มองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็ก ๆ และมีดินร่วนกองอยู่รอบ ๆ ของขอบรูเข้า-ออก ชอบทำรังในที่ร่มชื้น กินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ความสำคัญทางการแพทย์ |
6. มดแดง (Oecophylla smaragdina)
ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิม หัวและส่วนอกมีขนสั้น ๆ สีขาว อกยาว โดยอกปล้องแรกโค้ง อกปล้องที่ 2 คอดคล้ายอาน และ อกปล้องที่ 3 กลม ขาเรียวยาว ท้องสั้น มีความยาว 7–11 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ชมพู่ โดยใช้ใบไม้เหล่านี้ประกอบเป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ให้ประกบกัน เมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อโดยการกัดและฉีดสารพิษออกมาทางปลายท้อง เมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บจะช่วยกันลากกลับรัง ความสำคัญทางการแพทย์ |
7. มดตะนอย (Tetraponera rufonigra)
ลักษณะสำคัญ มีสีดำปนน้ำตาลเหลือง มีขนกระจายบาง ๆ ไม่เป็นระเบียบ หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวโดยปล้องแรกกว้าง ปล้องที่ 2 เล็กแบนรูปไข่ อกปล้องที่ 3 รูปไข่นูน ท้องรูปไข่ เล็กปลายแหลมโค้ง มีเหล็กในที่ปลาย มีความยาว 10.5–13 มิลลิเมตร ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนต้นไม้ใหญ่ที่ตายแล้ว เช่น ต้นก้ามปู ทำให้ต้นไม้เป็นโพรงอยู่ภายใน หากินบนต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียง เป็นมดที่กินเนื้อเป็นอาหาร ความสำคัญทางการแพทย์ |
เอกสารอ้างอิง
- อุรุญากร จันทร์แสง ,ชิตาภา เกตวัลห์ และ เดชา วิวัฒน์วิทยา. 2556. มด,น. 38–59. ใน สุรเชษฐ จามรมาน และ วรรณพร ศรีสุคนธรัตน์, บรรณาธิการ หรือ ผู้รวบรวม. คู่มือผู้ควบคุมการใช้วัตถุอันตรายเพื่อใช้รับจ้าง. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพฯ.